- อธิบายถึงสัญญาณบางอย่างของคนหน้าไว้หลังหลอกเป็นการเตือนและป้องกันไม่ให้ตกลงไปในพฤติกรรมเหล่านี้
- ความหมายในหะดีษก็คือ คุณลักษณะเหล่านี้เป็นนิสัยของคนหน้าไว้หลังหลอก และบุคคลที่มีคุณลักษณะเหล่านี้นั้นก็คล้ายคลึงกับพวกเขาในแง่พฤติกรรม และปฏิบัติตามนิสัยของพวกเขา แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นผู้เสแสร้งที่แสดงตนว่าเป็นมุสลิมแต่ซ่อนความไม่เชื่อไว้ในใจ และมีผู้กล่าวว่าหะดีษนี้หมายถึงผู้ที่มีลักษณะเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ และไม่ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็มีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อที่เสื่อมเสีย
- อัลฆอซาลีย์ กล่าวว่า: ต้นกำเนิดของศาสนาถูกจำกัดอยู่เพียง 3 สิ่งเท่านั้น คือ คำพูด การกระทำ และเจตนา เขาชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมทรามของวาจาด้วยการโกหก การทุจริตในการกระทำด้วยการทรยศ และการทุจริตด้วยเจตนาโดยการกลับคำ เพราะการผิดสัญญาจะไม่น่าอดสูเว้นแต่ความตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นจะเทียบได้กับคำสัญญา แต่หากเขาตั้งใจแล้วมีอุปสรรคเกิดขึ้นกับเขาหรือมีความคิดเห็นปรากฏขึ้น เขาก็ไม่มีความหน้าซื่อใจคดในรูปแบบใด ๆ ในส่วนของเขา
- หน้าไว้หลังหลอกนั้นมีสองประเภท: ด้านความเชื่อ มีผลให้หลุดออกจากความศรัทธา นั้นก็คือการแสดงออกว่าเป็นอิสลามแต่ปกปิดการปฏิเสธอยู่ข้างใน ด้านการปฏิบัติ ประเภทนี้คล้ายกับพวกหน้าไว้หลังหลอกในด้านนิสัย ประเภทนี้ไม่มีผลให้หลุดออกจากการศรัทธา เว้นแต่ว่า เป็นหนึ่งในบาปใหญ่
- อิบนุ ฮาญัร กล่าวว่า: บรรดานักวิชาการได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าใครก็ตามที่ศรัทธาด้วยหัวใจและลิ้นของเขา และปฏิบัติตามคุณสมบัติเหล่านั้น เขาจะไม่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา และเขาก็ไม่ใช่คนหน้าไว้หลังหลอกที่จะอยู่ในนรกตลอดไปด้วย
- อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า : นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า: กลุ่มที่หมายถึงในหะดีษนี้คือ พวกมุนาฟิกที่อยู่ในสมัยของท่านนบีมุฮัมหมัดซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พวกเขาแสดงออกว่ามีศรัทธา แต่กลับโกหก ได้รับความไว้วางใจในศาสนาแต่กลับทรยศ สัญญาในเรื่องการช่วยเหลือศาสนาแต่กลับผิดสัญญา และประพฤติไม่เป็นธรรมในเวลาที่มีข้อพิพาท