- บัญญัติให้กล่าวคำตัลบียะฮ์ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ และเน้นย้ำให้กล่าวมันในขณะประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของพิธีดังกล่าว เช่นเดียวกับการกล่าว ตักบีร ที่เป็นสัญลักษณ์ของการละหมาด
- อิบนุ อัล-มูนีร กล่าวว่า: "ในการบัญญัติให้กล่าวคำตัลบียะฮ์นั้น มีการชี้ให้เห็นถึงการให้เกียรติของอัลลอฮ์ ตะอาลา ที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ เนื่องจากการที่พวกเขาได้เดินทางมาเยือนบ้านของพระองค์ (อัลกะอ์บะฮ์) นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะการเรียกร้องจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่ง"
- การยึดมั่นต่อการกล่าวคำตัลบิยะห์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และไม่เป็นไรหากจะเพิ่มเติมคำกล่าวอื่น ๆ เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ยอมรับในสิ่งนี้ อิบนุ หะญัรกล่าวว่า: "นี่คือแนวทางที่ยุติธรรมที่สุด โดยให้แยกคำกล่าวที่ถ่ายทอดมาจากท่านนบี (المرفوع) ไว้ต่างหาก และหากผู้กล่าวเลือกที่จะกล่าวคำที่ถ่ายทอดมาจากเศาะหาบะฮ์ (الموقوف) หรือคำที่แต่งขึ้นเองจากความคิดของเขา โดยเป็นคำที่เหมาะสมและเหมาะแก่สถานการณ์ ก็ให้กล่าวแยกออกมาต่างหากเพื่อไม่ให้ปะปนกับคำกล่าวที่มาจากท่านศาสดา และเรื่องนี้เปรียบเสมือนกับการขอดุอาในช่วง ตะชะฮุด ที่ท่านนบีได้กล่าวว่า: "จากนั้นให้เขาเลือกคำวิงวอนหรือคำสรรเสริญใด ๆ ที่เขาปรารถนา" ซึ่งหมายถึง หลังจากที่เขากล่าวในส่วนที่ถ่ายทอดจากท่านนบีเสร็จสิ้นแล้ว
- การส่งเสริมให้ผู้ชายยกเสียงสูงในการกล่าว ตัลบิยะห์ แต่สำหรับผู้หญิงนั้น ควรลดเสียงให้เบาลงเพื่อป้องกันฟิตนะฮ์ที่จะเกิดขึ้น