- เราควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุด ละทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และไม่ควรไปยุ่งกับการถามถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- ไม่อนุญาตถามคำถามที่อาจทำให้เกิดความซับซ้อน และเป็นการเปิดประตูสู่ความคลุมเครือที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่มากมาย
- สั่งให้ละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหมด เพราะมันไม่มีความลำบากใดๆ ในการละทิ้ง ด้วยเหตุนี้ การสั่งห้ามเป็นไปในลักษณะทั่วไป
- คำสั่งให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกสั่งใช้นั้นให้ทำเท่าที่มีความสามารถ เนื่องจากในบางครั้งอาจประสบกับความอยากลำบากหรืออ่อนแอไม่สามารถดำเนินการได้ ด้วยเหตุนี้คำสั่งใช้จึงผูกเงื่อนไขกับความสามารถ
- ห้ามมิให้ถามมากจนเกินไป บรรดานักวิชาการได้แบ่งการถามออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือการถามเพื่อการศึกษาสิ่งที่ต้องการจากเรื่องราวของศาสนา ซึ่งการถามประเภทนี้เป็นสิ่งที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติ และการถามของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ก็อยู่ในคำถามประเภทนี้ ประเภทที่สอง การถามเพื่อทำให้เกิดความยุ่งยากและความซับซ้อน ซึ่งประเภทนี้เป็นสิ่งที่ถูกห้ามมิให้กระทำ
- เตือนประชาชาตินี้ไม่ให้ขัดแย้งกับนบีของพวกเขา ดั่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วกับประชาชาติก่อนหน้า
- การถามที่มากเกินไปในสิ่งที่ไม่จำเป็น และการขัดแย้งกับบรรดาศาสนทูตนั้นเป็นสาเหตุแห่งความหายนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งเร้นลับซึ่งอัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้ และเรื่องราวเกี่ยวกับวันกิยามะฮ์
- ห้ามถามคำถามในเรื่องที่ยาก ท่านอัลเอาซาอีย์ กล่าวว่า: หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความจำเริญของความรู้ออกไปจากบ่าวของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงโยนความเข้าใจที่ผิดๆ เกิดขึ้นกับลิ้นของเขา และฉันเห็นว่าพวกเขาเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้น้อย ท่านอิบนุวะฮับ กล่าวว่า: ฉันได้ยินท่านมาลิกกล่าวว่า: การโต้เถียงในความรู้นั้น จะขจัดแสงสว่างแห่งความรู้ไปจากหัวใจของมนุษย์